หน้าแรก    ภาพผลงาน    ติดต่อเรา 

เมนู

 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 23/08/2010
ปรับปรุง 21/02/2024
สถิติผู้เข้าชม 2,945,460
Page Views 4,141,963
 
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งตับอ่อน

(อ่าน 998/ ตอบ 0)

สุนิษา

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งตับอ่อน ระบาดวิทยาของโรค - พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย - พบในคนอายุมาก สองในสามของผู้ป่วยใหม่มีอายุมากกว่า 65 ปี - พบในชนชาติผิวดำมากกว่าชนชาติผิวขาว - พบชนิด adenocarcinoma มากที่สุด สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง ยังไม่พบสาเหตุของโรคที่ชัดเจนเช่นกัน มีปัจจัยบางอย่างที่น่าจะเกี่ยวข้อง เช่น - การสูบบุหรี่ ซึ่งมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึงสองเท่า - การทานอาหารที่มี Nitrosarmine compounds ซึ่งพบว่ามีความเกี่ยวของในหนู - ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งตับอ่อน อาการและลักษณะที่ตรวจพบ อาการทั่วไป ได้แก่ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้ ปวดท้อง เป็นต้น จะเห็นได้ว่าอาการเหล่านี้ไม่จำเพาะเจาะจงกับโรค ดังนั้นอาจทำให้การวินิจฉัยล่าช้าได้ ผู้ป่วยบางรายมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งเกิดจากตัวก้อนกดทางเดินน้ำดีคลำถุงน้ำดีได้จากทางหน้าท้อง หรือ มีน้ำตาลในเลือดผิดปกติได้ การตรวจวินิจฉัยที่จำเป็น 1. การตรวจร่างกายทั่วไป 2. การเจาะตรวจเลือด เช่น ตรวจการทำงานของตับ, การตรวจ CA 19-9 3. การส่องกล้องทางหน้าท้องเพื่อช่วยวินิจฉัยขนาดและตำแหน่งของก้อน 4. การตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา 5. การทำเอกซเรย์เพื่อช่วยวินิจฉัยและบอกขอบเขตของโรค โดยการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ที่ช่องท้องสามารถบอกถึงโอกาสการผ่าตัดได้สำเร็จ และการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หรือ ตับได้ 6. การทำ Endoscopic ultrasound สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคได้เช่นกัน การรักษา การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักของมะเร็งชนิดนี้สำหรับตัวโรคที่ยังไม่มีการแพร่กระจาย ไปอวัยวะอื่นไม่มีการลุกลามเข้าไปยังเล้นเลือด Superior mesenteric and portal vein , ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถผ่าตัดได้ประโยชน์ของการผ่าตัดก็ยังมีหลายทาง เช่น การตัดชิ้นเนื้อเล็กๆ เพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาต่อไป หรือการลดอาการเหลืองของผู้ป่วยที่เกิดจากก้อนกดทับทางเดินน้ำดี โดยการผ่าตัดที่เรียกว่า Choledochojejunostomy การฉายแสง มีหลายวัตถุประสงค์ คือ - การฉายรังสีก่อนผ่าตัด จุดประสงค์เพื่อลดขนาดของก้อนให้สามารถผ่าตัดได้ ซึ่งมีทั้งใช้ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดหรือฉายแสงเพียงอย่างเดียว - การฉายแสงหลังผ่าตัด เพื่อเพิ่มอัตราการควบคุมตัวโรคเฉพาะที่และเพิ่มอัตรารอดชีวิตให้กับผู้ป่วย - การฉายแสงตั้งแต่เบื้องต้น ซึ่งทำเมื่อไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือ ผู้ป่วยไม่แข็งแรงเพียงพอ โดยมีทั้งการให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย หรือฉายแสงอย่างเดียว - การฉายแสงเพื่อบรรเทาอาการ (Palliative radiation) การให้ยาเคมีบำบัด เป็นการรักษาร่วมกับรังสีดังที่กล่าวข้างต้น หรือให้เคมีบำบัด เพียงอย่างเดียวเสริมการรักษาโรคมะเร็งโดยการผ่าตัดกรณีที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่นแล้ว การให้ยาเคมีบำบัดเพื่อประคับประคองตัวโรค (Palliative chemotherapy) มีบทบาทสำคัญ Link: คลิ๊กที่นี่


Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
รูปภาพ
(นามสกุลไฟล์ควรเป็น [ jpg , jpeg , gif ] และไฟล์ไม่เกิน 3 MB.)
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

  Copyright 2005-2010 daitexx All rights reserved.
view